top of page

พายุหมุนเขตร้อน
พายุหมุนเขตร้อน พายุฟ้าคะนองส่วนใหญ่เกิดในบริเวณแคบและกินเวลาไม่นาน แต่ประเทศไทยอาจมีฝนตกหนักเป็นบริเวณกว้าง เกิดน้ำท่วมและลมแรงอัน เนื่องมาจากลมฟ้าอากาศที่เรียกว่า พายุหมุนเขตร้อน พายุหมุนเขตร้อนเป็นพายุหมุนที่เกิดขึ้นในเขตร้อน โดยมากมักเกิดในมหาสมุทรที่มีอุณหภูมิสูง และระเหยเป็นไอน้า ปริมาณมาก พายุหมุนเขตร้อนเริ่มต้นการก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำ กำลังแรงซึ่งอยู่เหนือผิวน้ำ ทะเลในบริเวณเขตร้อนและเป็นบริเวณที่กลุ่มเมฆจำนวนมากรวมตัวกันอยู่โดยไม่ปรากฏการ หมุนเวียนของลม หย่อมความกดอากาศต่ำ กำลังแรงนี้เมื่อยู่ในสภาวะที่เอื้ออำนวยก็จะพัฒนาตัวเองต่อไป จนปรากฏระบบหมุนเวียนนของลมอย่างชัดเจน ลมพัดเวียนเป็นวนทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือและตาม เข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้



พายุหมุนในแต่ละช่วงของความรุนแรงจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัวและเปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะ แวดล้อม ความเร็วลมในระบบหมุนเวียนทวีกำลังแรงขึ้นเป็นลำดับ กล่าวคือในขณะเป็นพายุดีเปรสชั่น ความเร็วลมสูงสุดใกลศูนย์กลางมีค่าไม่เกิน 63กิโลเมตร/ชั่วโมง ในขณะที่เป็นพายุโซนร้อนความเร็วลมสูงสุดใก้ลศูนย์กลางมีค่า ตั้งแต่ 63 – 117 กิโลเมตร/ชั่วโมงและในขณะเป็นพายุหมุนเขตร้อนหรือไต้ฝุ่น ความเร็วลมสูงสุดใก้ลศูนย์กลางจะมีค่า มากกวา่ 117 กิโลเมตร/ชั่วโมงดังนั้น สามารถแบ่งชนิดของพายเุขตร้อนได้ดังนี้
1. ดีเปรสชั่น (Depression) อัตราเร็วลมรอบจุดศูนย์กลาง น้อยกว่า 63 กิโลเมตร/ชวั่ โมง
2. โซนร้อน (tropical storm)อัตราเร็วลมรอบจุดศูนยกลาง ตั้งแต่ 63 –117 กิโลเมตร/ชั่วโมง
3. ไต้ฝุ่น (typhoon)อัตราเร็วลมรอบจุดศูนย์กลาง มากกว่า 117 กิโลเมตร/ชั่วโมง
มีชื่อเรียกตามสถานที่เกิด ดังนี้
เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันออกหรือมหาสมุทรแอตแลนติกเรียกว่า เฮอริเคน (Hurricane)
เกิดในมหาสมุทรอินเดีย หรือมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ด้านตะวัน ตกเรียกว่า ไซโคลน (cyclone)
เกิดในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือด้านตะวัน ตกเรียกว่า ไต้ฝุ่น (Typhoon)
เกิดในหมู่เกาะฟิลิปปินส์เรียกว่า บาเกียว(Baguio)
เกิดแถบนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย เรียกว่า วิลลี-วิลลี(Willy-willy)
เนื่องจากพายุหมุนเขตร้อนจะมีการเคลื่อนที่ไปด้วยดังนั้นความเร็วของพายุหมุนเขตร้อนจึงมีทั้ง ความเร็วของลมที่พัดเวียนรอบศูนย์กลาง และความเร็วในการเคลื่อนที่ของพายุ ซึ่งหมายถึงความเร็วที่พายุ ทั้งระบบเคลื่อนที่ไป ในขณะที่พายุหมุนเขตร้อนอยู่ในทะเลอาจทา ให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่ซึ่งเป็นอันตรายต่อการเดินเรือ ถ้าคลื่นขนาดใหญ่ดังกล่าวเคลื่อนที่เข้าสู่ฝั่ง เราเรียกว่า คลื่นพายุซัดฝั่ง (Storm surge)
ซึ่งเป็นคลื่นที่สามารถ ทำลายสิ่งก่อสร้างบริเวณชายฝั่งได้

bottom of page